ซึ่งจากการวิเคราะห์สภาพตลาด พบว่า มีการขนส่งประเภทหนึ่งที่เหมาะสมอย่างยิ่งที่จะเป็นผู้ใช้งานกลุ่มแรก ก็คือ รถจักรยานยนต์รับจ้าง หรือกลุ่มวินมอเตอร์ไซค์ ด้วยขนาดของตลาดที่มีจำนวนกว่า 300,000 คันทั่วประเทศ และศักยภาพในการผลิตรถจักรยานยนต์ของประเทศไทย ที่สามารถพัฒนาส่งออกเป็นอันดับ 2 ของโลก มีต้นทุนที่เหมาะสม แต่ยังขาดนวัตกรรมที่จะยกระดับและพัฒนาการบริการ
อีทรานจึงเริ่มต้นพัฒนานวัตกรรมแรกเป็นรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าเพื่อการบริการสาธารณะให้เช่า ในชื่อ “ETRAN PROM” (อีทราน พร้อม) เจาะกลุ่มผู้ใช้งานในกรุงเทพฯเป็นที่แรก โดยเริ่มจากกลุ่มวินมอเตอร์ไซค์ และผู้ให้บริการขนส่งต่าง ๆ ซึ่งมีลักษณะการให้บริการแบบวิ่งเป็นรอบ (Route) ในบริเวณใกล้เคียง คอยรับ-ส่งเพื่อเชื่อมต่อการขนส่งภายในเมืองใหญ่ ถือเป็นรูปแบบที่เหมาะสมกับการใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นอย่างมาก ตอบสนองความต้องการในการขนส่งระยะสั้น (Micro-Interchange Solution) โดยชูเรื่องความคุ้มค่าในการใช้งานเป็นหลัก ช่วยลดค่าใช้จ่ายให้กับผู้ใช้งาน ให้มีรายได้เหลือเงินเก็บในทุก ๆ เดือน เพิ่มขึ้นถึง 50% ควบคู่กับการติดตั้งและขยายสถานีแบตเตอรี่ (Battery Swapping Station) ทั่วกรุงเทพฯ ตามแนวรถไฟฟ้า เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้งานรถ ETARN PROM ในการเปลี่ยนแบตเตอรี่ไฟฟ้า พร้อมเปิดให้บริการปีนี้อย่างแน่นอน”
“อีทราน เป็นธุรกิจสตาร์ทอัพที่แตกต่างและใหม่ในตลาด ที่ไม่ใช่แอปพลิเคชัน แต่เป็น Hardware เราก้าวเข้ามาในอุตสาหกรรมนี้ ด้วยโมเดลทางธุรกิจรูปแบบใหม่ ที่ฉีกจากตลาดเดิมที่มีอยู่ อีทรานไม่ใช่บริษัทผลิตรถ แต่เราเป็นผู้นำนวัตกรรมบริการเพื่อการขนส่งสาธารณะทุกรูปแบบ ที่พร้อมนำขีดความสามารถและพลังความคิด บวกกับความกล้าที่จะเปลี่ยนแปลง มาผสานเข้ากับเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนาและยกระดับบริการขนส่งสาธารณะเพื่อคนไทยให้ดียิ่งขึ้นไป วันนี้ เราเริ่มต้นจากสิ่งที่ใกล้ตัวผู้บริโภคอย่างวินมอเตอร์ไซค์ในกรุงเทพฯ ก่อน และในอนาคต จะขยายผลจาก 2 ล้อ ไปเป็น 4 ล้อ 6 ล้อ หรือไม่มีล้อ อย่างเช่นเรือต่อไป เราตั้งใจสร้างธุรกิจนี้อย่างจริงจัง คิดและลงมือทำให้เกิดผลสำเร็จขึ้นจริง โดยตั้งเป้าการเติบโตในระยะยาว ภายใต้แนวคิด “drive a better world” ด้วยเจตนารมย์ที่จะสร้างระบบขนส่งสาธารณะที่ยั่งยืนและยังประโยชน์ให้กับทุกฝ่าย” นายสรณัญช์ กล่าว