จำนวนผู้เข้าชม : 710 ครั้ง
End Page
 
 
ปฐมพยาบาลเบื้องต้น เมื่อถูก "งูกัด"

ผศ.นพ.ธีระ กลลดาเรืองไกร
ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม
Faculty of Medicine Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

 

วิกฤตน้ำท่วมในขณะนี้ นอกจากเรื่องน้ำแล้ว ยังมีสัตว์เลื้อยคลานที่ใครเห็นแล้วอดขนหัวลุกไม่ได้ นั่นคือ “งู”

หลายคนอดสงสัยไม่ได้ว่า เมื่อถูกงูกัด จะรู้ว่างูนั้นมีพิษหรือไม่ ให้สังเกตที่รอยเขี้ยว ถ้างูไม่มีพิษ รอยฟันบนผิวหนังจะเรียงเป็นแถว แต่ถ้าเป็นงูพิษ จะมีรอยเขี้ยว 2 จุดชัดเจน หรือมีเลือดซึมออกจากแผล และบริเวณรอบๆ รอยเขี้ยวมีสีคล้ำ หรืออาจพองเป็นถุงน้ำ ซึ่งพิษของงูจะส่งผลต่อร่างกาย แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้


1. พิษต่อระบบประสาท (Neurotoxin) ได้แก่ งูเห่า งูจงอาง งูสามเหลี่ยม และงูทับสมิงคลา อาการ เริ่มจากแขนไม่มีแรง กระวนกระวาย ลิ้นเกร็ง พูดจาอ้อแอ้ ตามัว น้ำลายฟูมปาก เนื่องจากกล้ามเนื้อการกลืนเป็นอัมพาต หยุดหายใจ และเสียชีวิตในที่สุด

2. พิษต่อระบบการแข็งตัวของเลือด (Hematotoxin) ได้แก่ งูเขียวหางไหม้ งูแมวเซา และงูกะปะ อาการ เริ่มจากปวดแผลมาก มีเลือดซึมออกจากแผล เลือดออกจากอวัยวะต่างๆ เช่น เลือดกำเดา เหงือก ไอ อาเจียน ปัสสาวะและอุจจาระเป็นเลือด เกิดจากภาวะระบบไหลเวียนล้มเหลว และตายในที่สุด

3. พิษต่อกล้ามเนื้อ (Mytotoxin) ซึ่งมักจะไม่พบในภาวะน้ำท่วม เนื่องจากเป็นงูทะเล แต่ไม่ว่าจะถูกงูมีพิษประเภทใดกัด สิ่งแรกคือ ตั้งสติให้ดี อย่าตกใจ พยายามเคลื่อนไหวร่างกายให้ น้อยที่สุด เพราะจะส่งผลให้หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ พลอยให้พิษงูถูกสูบฉีดแล่นเข้าสู่หัวใจได้เร็วขึ้น ซึ่งอาการของพิษงูจะเริ่มแผ่ซ่านตั้งแต่ 15 - 30 นาที หรืออาจนานถึง 9 ชั่วโมง จึงต้องเฝ้าสังเกตอาการอย่างต่อเนื่อง จากนั้นจึงทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้น โดย

1) ล้างแผลด้วยน้ำและสบู่ ไม่ควรใช้เหล้า ยาสีฟัน ขี้เถ้าทาแผล หรือสมุนไพรใดๆ

2) บีบเลือดออกจากแผลให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ไม่ควรใช้ปากดูดหรือเปิดปากแผลด้วยของมีคม

3) การรัด ควรรัดเหนือและใต้บาดแผลประมาณ 3 นิ้วมือ ไม่ควรรัดเหนือบาดแผลให้แน่นมาก เพราะจะทำให้อวัยวะส่วนปลายขาดเลือดและเน่าตาย ควรคลายความแน่นพอสอดนิ้วมือได้ 1 นิ้ว จุดประสงค์เพื่อให้อวัยวะนั้นอยู่นิ่ง ไม่ใช่เป็นการห้ามพิษเข้าสู่หัวใจตามที่คนส่วนใหญ่เข้าใจไม่ถูกต้อง

4) ใช้ผ้าสะอาดห้ามเลือดด้วยการกดแผลโดยตรง ถ้าสามารถใช้แอลกอฮอล์หรือเบต้าดีนทาแผลได้ก็จะเป็นผลดีต่อการทำลายเชื้อโรคต่างๆ

5) พยายามเคลื่อนไหวร่างกายให้น้อยที่สุด เพราะหากเคลื่อนไหวมาก จะทำให้พิษของงูเข้าสู่กระแสเลือดเร็วขึ้น

6) วางอวัยวะส่วนนั้นให้ต่ำกว่าหรือระดับเดียวกับหัวใจ

7) รับประทานยาแก้ปวดหากรู้สึกปวด แต่ห้ามใช้ยาที่มีฤทธิ์แอลกอฮอล์ ยาระงับประสาท ยานอนหลับ ยาดองเหล้า เป็นต้น

8) รีบนำผู้ป่วยส่งสถานพยาบาลใกล้บ้าน ไม่จำเป็นต้องนำซากงูมาให้แพทย์ตรวจดูว่าเป็นงูประเภทใด เนื่องจากอาจจับได้ในบริเวณใกล้เคียงซึ่งไม่ใช่เป็นตัวที่กัด ปัจจุบันใช้การดูรอยกัดและลักษณะแผลเพื่อกำหนดการใช้เซรุ่มต้านพิษงูฉีดให้เหมาะสม

9) ให้ระลึกเสมอว่างูที่กัดทุกตัวเป็นงูมีพิษ

 

อ่านบทความเพิ่มเติม >>>>>  SIRIRAJ  E-PUBLIC  LIBRARY
ขอบคุณเนื้อหาจาก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
ภาพประกอบจาก istockphoto



ผู้แต่ง / แหล่งที่มา :  
 ผู้บันทึก :
date : [ 02 พ.ย. 2559 ]
 


 
 

 
 

 
 

 
 

 
 

 
 
สาระน่ารู้
ข่าวรถมือสอง
เทคนิคเลือกยางเพื่อรถคู่ใจ ดูที่อะไรคุ้มสุด

ข่าวรถมือสอง
รถเปลี่ยนมือ อย่าลืมเปลี่ยนสิทธิ์ 5 เรื่องควรรู้ เพื่อปลดหนี้อย่างปลอดภัย

ข่าวรถมือสอง
คู่มือดูแลยางรับหน้าฝน: ดูแลยางอย่างไรให้ใช้ได้อย่างปลอดภัยและอุ่นใจ

ข่าวรถมือสอง
CARS24 แนะนำ 6 รถครอบครัวรุ่นฮิต ผ่อนเริ่มต้น 10,000 บาท

ข่าวรถมือสอง
ประโยชน์ของชุดปะยางฉุกเฉิน

ข่าวรถมือสอง
นิสสัน เทอร์ร่า แชร์เคล็ดลับการเดินทางกับเด็กเล็ก เคล็ดลับการเดินทางที่รับประกันว่าจะทำให้ทั้งครอบครัว

ข่าวรถมือสอง
7เหตุผลที่ลูกค้าเลือกใช้ มิตซูบิชิ ไทรทัน

ข่าวรถมือสอง
ฟอร์ดแนะเคล็ดลับขับขี่ปลอดภัยในเวลากลางคืน

ข่าวรถมือสอง
5 ฟีเจอร์ในรถฟอร์ดเอเวอเรสต์ผู้ช่วยของสุดยอดคุณแม่

ข่าวรถมือสอง
ฟอร์ดเผย 5 เคล็ด(ไม่)ลับของการขับออฟโรด

ข่าวรถมือสอง
ฟอร์ดแนะนำ4เคล็ดลับการรักษาสีรถให้เหมือนใหม่

ข่าวรถมือสอง
ไบค์เกอร์เท่านั้นที่รู้! เปิด 5 เหตุผล ทำไมไทรอัมพ์ มอเตอร์ไซเคิลส์ ถึงเป็นพรีเมียมบิ๊กไบค์ ที่ใครๆ ก็อยาก

ข่าวรถมือสอง
ฟอร์ดแนะเทคนิคขับรถทางไกลให้ประหยัดน้ำมัน

ข่าวรถมือสอง
5 วิธีขับรถลุยน้ำอย่างปลอดภัย

ข่าวรถมือสอง
แอร์รถสะอาด สำคัญกว่าที่คิด

   
   
 
   
 
 
 
 
ขายบ้าน ขายที่ดิน ขายคอนโด
   Copyright © 2013 :By media ltd.